วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 4 ทัศนศึกษาที่ชายหาดบางแสน


กิจกรรมการเรียนรู้นอกสถานที่และการบำเพ็ญประโยชน์ ณ ชายหาดบางแสน

วันศุกร์ ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2555










วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

งานประจำสัปดาห์ที่ 2


แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้



จัดเป็นประเภทของแหล่งการเรียนรู้ได้ดังนี้ 
1. แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ สวนสัตว์,สวนสาธารณะ และสวนพฤกษศาสตร์ 
2. แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นบุคคล ได้แก่  ปราชญ์ชาวบ้าน 
3. แหล่งเรียนรู้ที่เป็นสถานที่สถาบัน  ได้แก่  ห้องสมุดต่างๆ ,อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี,หอศิลป์ ,พิพิธภัณฑ์
4. แหล่งเรียนรู้ที่เป็นวิธีการ ได้แก่  ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ  

การวิเคราะห์แหล่งการเรียนรู้ 


หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร



Dollar 009 by Lolay

               องค์ความรู้  ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร “หวังอยากให้หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานครเป็นส่วนเสริมสร้างศักดิ์ศรีแก่กรุงเทพมหานคร สู่ความเป็นมหานครแห่งศิลปวัฒนธรรมระดับโลก ทั้งยังเป็นสถานที่ให้การศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรมแก่ชุมชน และประชาชน โดยเชื่อมโยงทุนเดิมจากมรดกทางวัฒนธรรมเข้ากับศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ให้เกิดองค์ความรู้หลากหลาย อีกทั้งยังเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างเครือข่าย และระดมทรัพยากรในการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรม และเป็นองค์กรส่งเสริมสร้างโอกาส ประสานการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชน และองค์กรส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างและพัฒนาระบบการบริหารจัดการหอศิลปฯ สู่ระดับมาตรฐานสากลและถูกใช้เป็นเวทีในการนำเสนอและบริหารจัดการ การแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมระหว่างประเทศ ”

 กลุ่มเป้าหมายหลัก / กลุ่มผู้เรียนหลัก

            กลุ่มเป้าหมายประชาชนทุกเพศทุกวัย
         
วิธีการที่ใช้ในการนำเสนอ
             ได้แก่ การจัดนิทรรศการ การจัดแสดงภาพศิลปวัฒนธรรม และการจัดแสดงศิลปหลากหลายแขนง

     เป็นการศึกษาตามอัธยาศัย 
               ที่ผู้ที่สนใจนั้นสามารถเข้าเยี่ยมชมได้ตลอดเวลาทำการ ไม่ว่าจะเป็นคนในวัยใดก็สามารถเข้าเยี่ยมชมได้

ที่มา

แหล่งการเรียนรู้ประเภทบุคคล


ปราชญ์ชาวบ้าน   หมายถึง   บุคคลผู้เป็นเจ้าของภูมิปัญญาชาวบ้าน และนำภูมิปัญญามาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตจนประสบผลสำเร็จสามารถถ่ายทอด เชื่อมโยงคุณค่าของอดีตกับปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม
แก่นของหลักคิด และวิธีการ ที่ปราชญ์ชาวบ้านเสนอ ไม่ว่าจะเป็นบุคคล หรือ ระดับชุมชนเบื้องต้นสุด เริ่มจาก
1.   การรู้จักตัวเองให้ได้
2.   ใช้ปัญญาทางานแทนเงินตรา
3.  สร้างการมีส่วนร่วมแทนอำนาจสั่งการ
4.  ชุมชนต้องมีบทบาทหลัก ไม่ใช่หน่วยงานราชการ
5.  ทำตัวเป็นแบบอย่าง คนยอมรับนับถือ

                ภูมิปัญญา

ภูมิปัญญา ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่าWisdom หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะความเชื่อ และศักยภาพในการแก้ปัญหาของมนุษย์ที่สืบทอดกันมาจากอดีตถึงปัจจุบันอย่างไม่ ขาดสายและเชื่อมโยงกันทั้งระบบทุกสาขา
ภูมิปัญญาไทย หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะและเทคนิคการตัดสินใจ ผลิตผลงานของบุคคล อันเกิดจากการสะสมองค์-ความรู้ทุกด้านที่ผ่านกระบวนการสืบทอด พัฒนาปรับปรุง และเลือกสรรมาแล้วเป็นอย่างดีสามารถแก้ไขปัญหา และพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย
ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือภูมิปัญญาชาวบ้านหมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้านคิดขึ้นได้เองและนำมาใช้ในการแก้ปัญหา เป็นเทคนิควิธี เป็นองค์ความรู้ของชาวบ้าน ทั้งทางกว้างและทางลึกที่ชาวบ้านคิดเอง ทำเอง โดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่แก้ปัญหาการดำเนินชีวิตในท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม กับยุคสมัยความเหมือนกันของภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ เป็นองค์ความรู้ และเทคนิคที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ ซึ่งได้สืบทอดและเชื่อมโยงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
ความเหมือนกันระหว่างผู้ทรงภูมิปัญญาไทยกับปราชญ์ชาวบ้าน  คือ บทบาทและภารกิจในการนำภูมิปัญญาไปใช้แก้ปัญหา และการถ่ายทอดเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงจากอดีตถึงปัจจุบัน ส่วนความแตกต่างกันนั้นขึ้นอยู่กับระดับภูมิปัญญาที่จะนำไปแก้ปัญหาและถ่าย ทอดกล่าวคือ ผู้ทรงภูมิปัญญาไทยย่อมมีความสามารถหรือภารกิจในการนำภูมิปัญญาระดับชาติไป แก้ปัญหา หรือถ่ายทอด หรือผลิตผลงานใหม่ๆ ที่มีคุณค่าต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม ส่วนปราชญ์ชาวบ้านมีความสามารถหรือภารกิจในการนำภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นไปแก้ปัญหาหรือถ่ายทอดในท้องถิ่น
อย่างไรก็ตาม ภูมิปัญญาไทย และ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ย่อมมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกัน เพราะภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นถือว่าเป็นฐานหลักแห่งภูมิปัญญาไทยเปรียบเหมือนฐานเจดีย์



พ่อคำเดื่องภาษี - ปราชญ์ชาวบ้าน





พ่อคำเดื่องภาษี - ปราชญ์ชาวบ้าน นักคิด นักพูด นักปฏิบัติแห่งยุค   
ที่อยู่   40 ม.8 ต.หัวฝาย กิ่งอำเภอแคนดง จ.บุรีรัมย์
แหล่งที่มา  มูลนิธิพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนเพื่อคุณภาพชีวิตดี  จังหวัดขอนแก่น

ความเป็นมา 
พ่อคำเดื่อง ภาษี เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2495 เป็นลูกคนที่ 6 ในบรรดาลูกๆ 7 คน ของพ่อไพร และแม่สี ภาษี แต่งงานกับนางอมร งามชัด    ลูกสาวผู้ใหญ่บ้านบ้านหนองแก ตำบลช่องสามหมอ อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ มีลูกชาย 2 คน และลูกสาว 1 คน

ตัวอย่างคำพูดของพ่อคำเดื่อง ภาษี  ที่เปรียบเปรยให้เห็นถึงแนวทางการทำเกษตรประณีตหนึ่งไร่ซึ่งรัฐบาลชูให้เป็นแนวทางหนึ่งของการแก้ไขปัญหาความยากจน 
"เราต้องคิดว่าเราคือผู้แพ้สงครามเกษตรเชิงเดี่ยว ใช้สารเคมีจนดินเสื่อมหมดแล้ว เป็นหนี้สินพ้นตัว หนีมาพื้นแผ่นดินใหม่ มีพริก มะเขือ ผักชนิดต่าง ๆ ไก่บ้าน ปลาในบ่อ เป็นพลทหาร จะระดมพลออกรบเมื่อไหร่ก็ได้ มีพืชสมุนไพรผักพื้นบ้านเป็นยา ใช้รักษายามเจ็บไข้ มีลูกยอ กล้วย เป็นนายสิบ มีไผ่เป็นนายร้อย มียางนา ตะเคียนทอง เป็นนายพัน นายพล โดยมีเจ้าของสวนเป็นจอมทัพ สะสมกำลังอยู่ในพื้นที่เล็ก ๆ เพียงหนึ่งไร่ ไม่ต้องหวังร่ำรวย เอาแค่พออยู่พอกิน หวังสร้างทรัพย์สินทางปัญญาเป็นมรดกให้ลูกหลาน ทำอย่างนี้เท่านั้นที่จะนำพาชีวิตครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติไปสู่ชัยชนะได้ "



ไขเค็มไชยา  - ภูมิปัญญาท้องถิ่น



ประวัติความเป็นมา 
        ชาวบ้านหมู่ที่ 6 ตำบลเสม็ดมีอาชีพทำนา และเลี้ยงเป็ดเป็นอาชีพเสริมเมื่อสิ้นฤดูกาลทำนา เนื่องจากผลิตภัณฑ์ไข่เป็ดสดมีปริมาณมากเหลือจากการขายเป็นสาเหตุให้ไข่เป็ดเน่าเสียชาวบ้านจึงหาวิธีถนอมไข่เป็ดสดไม่ให้เน่าเสียโดยการนำมาพอกกับดินและหมักไว้เป็นไข่เค็ม เมื่อได้รสชาติที่ดีและเก็บไว้ได้นานก็เริ่มมาวางขายบริเวณหน้าลานบ้านและริมถนนเอเชียโดยบรรจุกล่องรองเท้าบ้างใส่ถุงพลาสติกบ้าง 
ต่อมาเริ่มมีคนบริโภคไข่เค็มมากยิ่งขึ้นจนปริมาณการผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการชาวบ้านจึงได้รวมตัวจัดตั้งเป็นกลุ่มและทำการผลิตไข่เค็มเพื่อจำหน่ายและได้พัฒนามาจนถึงปัจจุบัน โดยมีสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอไชยาเข้ามาส่งเสริม และสนับสนุนด้านการจัดการกลุ่ม การพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์และสนับสนุนงบประมาณในด้านต่างๆ

กระบวนการผลิต
นำไข่เป็ดสด ไม่ล้างน้ำมาคลุกกับดินจอมปลวกน้ำบ่อและเกลือป่นแล้วคลุกขี้แกลบตามอัตราส่วน ดิน 2 เกลือ 1 ผสมกับน้ำบ่อพอประมาณห้ามใช้น้ำประปา นำไข่เป็นจุ่มในดินแล้วนำไปคลุกขี้เถ้าแกลบ นำไปเก็บไว้ประมาณ 10-15 วัน นำมาบริโภคได้รสชาติมันอร่อย

การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ใช้น้ำบ่อเท่านั้น
ไข่เป็ดสดจากน้ำไม่ต้องล้างน้ำ
ใช้ดินจอมปลวกที่มีลักษณะค่อนข้างเหนียวเพื่อให้ไข่ขาวนุ่มอร่อย
ให้ข้าวเปลือกเป็นอาหารเป็ดเพื่อความแดงมันของไข่แดง

ลักษณะเด่นของผลิตภัณฑ์ 
        ไข่เค็มไชยาเป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนามาจากภูมิปัญญท้องถิ่นในการถนอมอาหารให้มีรสชาติ มัน อร่อย เป็นเอกลักษณ์ของไข่เค็มไชยาเป็นการเฉพาะยากแก่การเลียนแบบ ทั้งนี้เนื่องจากภูมิปัญญาของผู้ผลิตและวัตถุดิบในท้องถิ่นที่มีความพร้อมเหนือท้องถิ่นอื่น เป็นการส่งเสริมการมีงานทำและรายได้ครบวงจร คือ คนเลี้ยงเป็ด ผู้ผลิต ไข่เค็ม ผลิตกล่องกระดาษ ขายดินเหนียว ขายแกลบ ผู้แทนจำหน่าย การขายอาหารสัตว์


อ้างอิง  

วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่รู้จัก


แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ

                                       "เขตรักษาพันธุ์สัตว์ ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง"  จ.กาญจนบุรี



น้ำตกทีลอซู  อ. อุ้มผาง  จ. ตาก





   แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นบุคคล สมาคม

     "ขนมหม้อแกงแม่กิมไล้ "  จ.เพชรบุรี


                                                                                                 
  แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสถานที่ สถาบัน หน่วยงาน

   "  พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์"   จ.ปทุมธานี




 แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นกิจกรรม วัฒนธรรม เทคโนโลยี และประเพณี

     "  ประเพณีวิ่งควาย"  จ.ชลบุรี